ระบบหมุนเวียนโลหิต

        ระบบหมุนเวียนโลหิต ทำหน้าที่หมุนเวียนเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อลำเลียงก๊าซออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนเลือด มีดังนี้
        หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการหมุนเวียนโลหิต ทำหน้าที่บีบตัวและคลายตัวเพื่อสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือด 4 ห้อง
        หลอดเลือด เป็นอวัยวะที่อยู่ทั่วร่างกายมี 3 ชนิด คือ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดขาว และหลอดเลือดฝอย หลอดเลือดฝอยจะนำสารอาหารที่ย่อยแล้วไปยังส่วนต่างๆในร่างกาย
การแลกเปลี่ยนสารอาหารจะเกิดขึ้นที่ผนังหลอดเลือดฝอย

        หลอดเลือดจะไหลเวียนไปทางเดียวกันตลอดเวลาไม่มีการไหลย้อนกลับระบบหมุนเวียนเลือดเป็นแบบวงจรปิด
        ขณะที่หัวใจบีบตัวเลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดจากหัวใจด้วยความดันสูงทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ ขณะที่หัวใจรับเลือดเข้าไปนั้นก็จะมีความดันน้อยที่สุด ความดันเลือดที่แพทย์วัดออกมาได้ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอทจึงมีสองค่า เช่น 120/80 มิลลิเมตรของปรอท
        ตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวเพื่อดันเลือดออกจากหัวใจ
        ตัวเลข 80 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
ความดันเลือดของผู้ใหญ่ตามปกติควรมี 120/80
        ถ้าเราเอานิ้วมือจับที่ข้อมือด้านซ้าย จะพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างเต้นตุบๆอยู่ภายในสิ่งนั้น เรียกว่า ชีพจร ชีพจรเป็นการหดตัวและขยายตัวของหลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยคนหนุ่มสาวปกติชีพจรจะเต้นประมาณ 70-80 ครั้ง
        การออกกำลังกายมีผลต่ออัตราการเต้นของชีพจร การออกกำลังกายทำให้ร่างกายต้องการพลังงานสูงขึ้นกว่าปกติจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดมากขึ้น การสูบฉีดเลือดจึงต้องสูงขึ้น จะพบว่าชีพจรก้จะเต้นเร็วขึ้น หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น จึงกล่าวได้ว่าการเต้นของชีพจรสัมพันธ์กับระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น